เรียน ปวส สาขาไหนหางานง่าย

04/10/2567 | 97

เรียน ปวส สาขาไหนหางานง่าย

เรียนสายอาชีพ สาขาไหนดี ไม่ตกงาน

หนึ่งในคำถามที่หลายคนที่เรียนสายอาชีพมักสงสัยคือ “ จบสายอาชีพแล้วจะหางานยากไหม? ” ขอตอบเลยว่า การเรียนสายอาชีพไม่ได้ทำให้การหางานยากอย่างที่หลายคนคิด ในทางตรงกันข้าม การได้ทำงานระหว่างเรียนยังช่วยเพิ่มทักษะและความสามารถจริงที่นายจ้างมองหา อีกทั้งยังทำให้เรามีรายได้ระหว่างเรียน ซึ่งเป็นข้อดีที่ใครหลายคนอาจไม่เคยคิดมาก่อน

เพราะการเรียนสายอาชีพมีข้อดีมากมายที่ช่วยให้เราได้เปรียบ ไม่ว่าจะเป็นการได้ลองทำงานจริง มีประสบการณ์ทำงานก่อนใคร รวมไปถึงการเรียนที่ใช้เวลาสั้น ช่วยประหยัดเวลาและเปิดโอกาสให้เราได้เข้าสู่ชีวิตการทำงานได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ การเลือกเรียนในสาขาที่ชัดเจนยังช่วยให้เรามองเห็นเส้นทางอาชีพ (Career Path) ของตัวเองได้อย่างชัดเจน วางแผนอนาคตได้ดีขึ้น ถ้ารู้แบบนี้แล้ว ลองมาดูกันดีกว่าว่ามีสาขาไหนบ้างในสายอาชีพที่น่าสนใจ และงานแบบไหนที่เหมาะกับคุณ มาหาคำตอบไปพร้อมกันเลย


เรียนสายอาชีพมีอะไรบ้าง


1. ด้านอุตสาหกรรม แบ่งออกเป็น 9 สาขาหลัก ได้แก่

  • สาขาวิชาเครื่องกล : สาขางานยานยนต์ เครื่องกลอุตสาหกรรม เครื่องกลเรือ เครื่องกลเกษตร ตัวถังและสีรถยนต์
  • สาขาวิชาเครื่องมือกลและซ่อมบำรุง : สาขางานเครื่องมือกล ซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล เขียนแบบเครื่องกล ชิ้นส่วนเครื่องจักรกลเกษตร แม่พิมพ์พลาสติก แม่พิมพ์โลหะ
  • สาขาวิชาโลหะ : สาขางานเชื่อมโลหะ อุตสาหกรรมต่อตัวถังรถโดยสาร
  • สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ : สาขางานไฟฟ้ากำลัง อิเล็กทรอนิกส์ โทรคมนาคม เมคคาทรอนิกส์

อาชีพตอนเรียนจบ : สาขาเครื่องกล ยานยนต์ ช่างซ่อมบำรุง ช่างไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โทรคมนาคม งานก่อสร้าง โยธา สถาปัตยกรรม เครื่องเรือน ตกแต่งภายใน และสาขางานพิมพ์และหากอยากศึกษาต่อ สามารถต่อยอดด้วยการศึกษาต่อระดับปริญญาในสาขา วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรม หรือสาขาที่เกี่ยวข้องได้


  • สาขาวิชาการก่อสร้าง : สาขางานก่อสร้าง โยธา สถาปัตยกรรม เครื่องเรือนและการตกแต่งภายใน สำรวจ
  • สาขาวิชาการพิมพ์ : สาขางานการพิมพ์
  • สาขาวิชาแว่นตาและเลนส์ : สาขางานแว่นตาและเลนส์
  • สาขาวิชาการต่อเรือ : สาขางานต่อเรือโลหะ ต่อเรือไม้ ต่อเรือไฟเบอร์กล๊าส นาวาสถาปัตย์ ซ่อมบำรุงเรือ
  • สาขาวิชาผลิตภัณฑ์ยาง : สาขางานผลิตภัณฑ์ยา

อาชีพตอนเรียนจบ : ก่อสร้าง สิ่งพิมพ์ แว่นตาและเลนส์ การต่อเรือ ผลิตภัณฑ์ยาง


2. ด้านพาณิชยกรรม บริหารธุรกิจ แบ่งออกเป็น 2 สาขาหลัก ได้แก่

  • สาขาวิชาพณิชยการ : สาขางานการบัญชี การขาย การเลขานุการ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจสถานพยาบาล การประชาสัมพันธ์ ภาษาต่างประเทศ งานสำนักงานสำหรับผู้พิการทางสายตา
  • สาขาวิชาธุรกิจบริการ : สาขางานการจัดการความปลอดภัย การจัดการความสะอาด

อาชีพตอนเรียนจบ : งานการบัญชี การขาย เลขานุการ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ธุรกิจค้าปลีก การประชาสัมพันธ์ งานจัดการ และสามารถศึกษาต่อระดับปริญญาในสาขาการบัญชี สาขาบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ได้


3. ด้านศิลปกรรม

แบ่งออกเป็น สาขางาน วิจิตรศิลป์/ การออกแบบ /ศิลปหัตถกรรม /อุตสาหกรรมเครื่องหนัง /เครื่องเคลือบดินเผา /เทคโนโลยีการถ่ายภาพฯ /เครื่องประดับอัญมณี/ ช่างทองหลวง /เทคโนโลยีศิลปกรรม /การพิมพ์สกรีน /คอมพิวเตอร์/กราฟิก/ ศิลปหัตถกรรมโลหะ /รูปพรรณและเครื่องประดับ /ดนตรีสากล/ เทคโนโลยีนิเทศศิลป์ และ ช่างทันตกรรม

อาชีพตอนเรียนจบ : งานวิจิตรศิลป์ การออกแบบ ศิลปหัตกรรม เครื่องเคลือบดินเผา เทคโนโลยีการถ่ายภาพ เครื่องประดับอัญมณี ช่างทองหลวง เทคโนโลยีศิลปกรรมการพิมพ์สกรีน คอมพิวเตอร์กราฟิก ศิลปหัตกรรมโลหะ รูปพรรณและเครื่องประดับ เทคโนโลยีนิเทศศิลป์


4. ด้านคหกรรม แบ่งออกเป็น 4 สาขาหลัก ได้แก่

  • สาขาวิชาผ้าและเครื่องแต่งกาย : สาขางาน ผลิตและตกแต่งสิ่งทอ ออกแบบเสื้อผ้า ตัดเย็บเสื้อผ้า อุตสาหกรรมเสื้อผ้า ธุรกิจเสื้อผ้า
  • สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ : สาขางาน อาหารและโภชนาการ แปรรูปอาหาร ธุรกิจอาหาร
  • สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ : สาขางาน คหกรรมการผลิต คหกรรมการบริการ ธุรกิจคหกรรม คหกรรมเพื่อการโรงแรม
  • สาขาวิชาเสริมสวย : สาขางาน เสริมสวย

อาชีพตอนเรียนจบ : สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ การแปรรูปอาหาร ธุรกิจเกี่ยวกับอาหารต่าง ๆ งานคหกรรมเพื่อการโรงแรม งานเสริมสวยและเครื่องสำอาง เป็นต้น


5. ด้านเกษตรกรรม

  • สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ : แบ่งออกเป็น สาขางาน พืชศาสตร์ สัตวศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร ช่างเกษตร เกษตรทั่วไป การประมง

อาชีพตอนเรียนจบ : งานด้านพืช – สัตว์ อุตสาหกรรมเกษตร ช่างเกษตร เกษตรทั่วไป


6. ด้านประมง แบ่งออกเป็น 3 สาขาหลัก ได้แก่

  • สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ : สาขางาน เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
  • สาขาวิชาแปรรูปสัตว์น้ำ : สาขางาน แปรรูปสัตว์น้ำ การผลิตซูริมิและผลิตภัณฑ์
  • สาขาวิชาประมงทะเล : สาขางาน ประมงทะเล

อาชีพตอนเรียนจบ : การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ แปรรูปสัตว์น้ำ ประมงทะเล เป็นต้น


7. ด้านอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และ การโรงแรม

  • สาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว : สาขางาน การโรงแรม การท่องเที่ยว

อาชีพตอนเรียนจบ : งานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวต่าง ๆ งานดูแลนักท่องเที่ยวมัคคุเทศก์ การโรงแรม งานบริหารเกี่ยวข้องกับโรงแรม ที่พักโฮมสเตย์


8. อุตสาหกรรมสิ่งทอ แบ่งออกเป็น 3 สาขาหลัก ได้แก่

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งทอ : สาขางาน เทคโนโลยีสิ่งทอ
  • สาขาวิชาเคมีสิ่งทอ : สาขางาน เคมีสิ่งทอ
  • สาขาวิชาอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป : สาขางานอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป

อาชีพตอนเรียนจบ : เทคโนโลยีสิ่งทอ เคมีสิ่งทอ อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป ตกแต่งสิ่งทอต่าง ๆ ออกแบบตัดเย็บเสื้อผ้า อุตสาหกรรมเสื้อผ้า เป็นต้น


9. ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

อาชีพตอนเรียนจบ : เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีระบบเสียง งานไอที โปรแกรมเมอร์ คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ งานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมไอทีต่าง ๆ คอมพิวเตอร์เกม และงานสายแอนิเมชัน


10. ด้านการขนส่ง และโลจิสติกส์

ในสายงานนี้เหมาะกับคนที่ชอบเดินทาง ถ้าใครที่มีความสนใจไม่ว่าคุณจะเรียนสายอะไรมาก็สามารถทำงานด้าน การขนส่ง ได้ นอกจากนี้งานขนส่งยังมีการแบ่งออกหลายระดับให้เลือกได้ตั้งแต่

  • ตั้งแต่ตำแหน่งพนักงานขับรถ พนักงานประจำคลังสินค้า (วุฒิมัธยมปลาย)
  • พนักงานศูนย์กระจายสินค้า (ขั้นต่ำคือวุฒิ ปวส. ไม่จำกัดสาขา)
  • ระดับหัวหน้าศูนย์กระจายสินค้า (วุฒิ ปวส. หรือสูงกว่า)
  • รวมไปถึงงานในตำแหน่งอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ช่างเทคนิค เจ้าหน้าที่ควบคุมการส่งออก งานธุรการขนส่ง เป็นต้น

การเรียนสายอาชีพจึงไม่ได้ทำให้หางานยากอย่างที่หลายคนคิด ที่สำคัญยังมีข้อได้เปรียบมากมาย เช่น การได้ลองทำงานจริงระหว่างเรียน มีตลาดงานที่หลากหลายรองรับ และมองเห็นเส้นทางอาชีพที่ชัดเจน ช่วยให้เราวางแผนอนาคตได้ง่ายขึ้น ตรงกับสิ่งที่เราสนใจและถนัดมากที่สุดเพราะมีหลายบริษัทเปิดรับพนักงานที่จบ ปวช. และ ปวส. จากหลากหลายสาขา ไม่จำกัดแค่สายใดสายหนึ่งเท่านั้น ทำให้คนที่เรียนจบสายอาชีพมีโอกาสหางานได้ง่ายขึ้น และยังสามารถเปลี่ยนสายงานตามที่สนใจได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องวุฒิการศึกษาสุดท้ายนี้หา กใครสนใจมองหางานที่ใช่ มองหางานที่ ไทยจ๊อบ

บทความอื่นๆ

แนะนำ 5 อาชีพสำหรับ MBTI - ISTJ ผู้ตรวจสอบ จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย

  • 11/10/2567
  • 51

แนะนำ 5 อาชีพ สำหรับชาว Introvert ที่เตรียมตัว หางาน สมัครงาน จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย

  • 09/10/2567
  • 78

แนะนำสาขาสายอาชีพ เรียนจบ ไม่ตกงาน

  • 04/10/2567
  • 97

สอนทำเรซูเม่กับ 4 ไอเดียสำหรับสายอาชีพ - อาชีวศึกษา

  • 02/10/2567
  • 91

วิศวกรระดับ 4 คือตำแหน่งที่หลายคนในวงการวิศวกรรมใฝ่ฝันจะก้าวไปให้ถึง

  • 17/09/2567
  • 134

เรียนสายอาชีพจบมาจะทำงานอะไรดี วันนี้เราจะมาแนะนำกับ 8 อาชีพที่สายอาชีพไม่ควรพลาด

  • 04/09/2567
  • 114

5 วิธีปฏิเสธการไป Outing บริษัทแบบไม่เสียเพื่อนร่วมงาน

  • 23/08/2567
  • 211

วันนี้เราจะมาแนะนำสำหรับคนที่กำลังหางาน แล้ว สมัครงานได้หลายที่ว่าคุณควรเลือกเข้าทำงานที่ไหนด้วย 5 ข้อนี้ - ThaiJob

  • 21/08/2567
  • 151
Top