8 สายงานที่ สายอาชีพไม่ควรพลาด

04/09/2567 | 66


มาพูดถึงข้อดีหรือความได้เปรียบในการเรียนสายอาชีพกันเถอะ

ในการเรียนสายอาชีพ ไม่ใช่แค่นั่งเรียนตามหลักสูตรทฤษฎี แต่เป็นการเรียนที่จะได้ทักษะพร้อมกับประสบการณ์ทำงานจริง ๆ ทำให้สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นคุถณสมบัติและมีผู้คนต้องการร่วมงานอยู่มาก ทำให้ในการมองหาพนักงานฝ่ายบุคคลหรือทางผู้พิจราณาก็จะเลือกรับน้อง ๆ หรือคนที่ได้จบ สายอาชีพ เข้าทำงานเลย


สายงาน ของสายอาชีพ

สายอาชีพมีอะไรบ้าง และสามารถไปสมัครงานที่ตำแหน่งงานอะไรดีวันนี้เราจะมาขอแนะนำกับ 8 สายงานของสายอาชีพที่น่าสนใจ


1. อุตสาหกรรม

สาขาเครื่องกล ยานยนต์ ช่างซ่อมบำรุง ช่างไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โทรคมนาคม งานก่อสร้าง โยธา สถาปัตยกรรม เครื่องเรือน ตกแต่งภายใน และสาขางานพิมพ์ โดยสาขานี้สามารถต่อยอดด้วยการศึกษาต่อระดับปริญญาในสาขา วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรม หรือสาขาที่เกี่ยวข้องได้


2. พาณิชยกรรม และบริหารธุรกิจ

สาขา การบัญชี การขาย การตลาด เลขานุการ งานธุรการ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ค้าปลีก งานประชาสัมพันธ์ สาขาภาษาต่างประเทศ และยังสามารถศึกษาต่อระดับปริญญาในสาขาการบัญชี สาขาบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ได้


3. ศิลปกรรม

สาขาวิจิตรศิลป์ งานออกแบบ งานศิลปหัตถกรรม อุตสาหกรรมเครื่องหนัง งานปั้น งานประติมากรรม เทคโนโลยีการถ่ายภาพ เครื่องประดับและอัญมณี งานเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ คอมพิวเตอร์กราฟิก แอนิเมชัน อุตสาหกรรมภาพยนตร์ อาชีพที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมดนตรี และเทคโนโลยีนิเทศศิลป์ เป็นต้น


4. คหกรรม และสิ่งทอ

สาขาผลิตและตกแต่งสิ่งทอต่าง ๆ ออกแบบตัดเย็บเสื้อผ้า อุตสาหกรรมเสื้อผ้า สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ การแปรรูปอาหาร ธุรกิจเกี่ยวกับอาหารต่าง ๆ งานคหกรรมเพื่อการโรงแรม งานเสริมสวยและเครื่องสำอาง เป็นต้น


5. เกษตรกรรม และการประมง

สาขางานเกี่ยวกับการเกษตรต่าง ๆ สาขาพืชศาสตร์ สัตวศาสตร์ อุตสาหกรรมการเกษตร การประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การแปรรูปสัตว์น้ำ การประมงทะเล


6. อุตสาหกรรมท่องเที่ยว และ การโรงแรม

งานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวต่าง ๆ งานดูแลนักท่องเที่ยวมัคคุเทศก์ การโรงแรม งานบริหารเกี่ยวข้องกับโรงแรม ที่พักโฮมสเตย์และพื้นฐานทางภาษาของผู้ที่เรียนจบด้านนี้ก็ยังสามารถนำไปปรับใช้ได้ในอีกหลากหลายอาชีพ ทั้งที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและการประชาสัมพันธ์ได้ เช่น งานแปล งานเอกสาร งานล่าม เป็นต้น จึงทำให้คนที่เรียนจบสาขานี้ยังมีตลาดงานรองรับอยู่บ้าง ไม่ถึงกับถึงทางตันเสียทีเดียว


7. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาเทคโนโลยีระบบเสียง งานไอที โปรแกรมเมอร์ คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ งานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมไอทีต่าง ๆ คอมพิวเตอร์เกม และงานสายแอนิเมชัน


8. ด้านการขนส่ง และ โลจิสติกส์

งานด้าน การขนส่ง แบ่งออกเป็นหลายระดับ ตามความถนัดและความสนใจ โดยสามารถทำได้ตั้งแต่ตำแหน่งพนักงานขับรถ พนักงานประจำคลังสินค้า (วุฒิมัธยมปลาย) พนักงานศูนย์กระจายสินค้า (ขั้นต่ำคือวุฒิ ปวส. ไม่จำกัดสาขา) ไปจนถึงระดับหัวหน้าศูนย์กระจายสินค้า (วุฒิ ปวส. หรือสูงกว่า) รวมไปถึงงานในตำแหน่งอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ช่างเทคนิค เจ้าหน้าที่ควบคุมการส่งออก งานธุรการขนส่ง เป็นต้น


จะเห็นได้ว่า หลายบริษัทเปิดรับพนักงานวุฒิ ปวช. และ ปวส. จากหลากหลายสาขา ไม่จำกัดเฉพาะสาขาใดสาขาหนึ่ง จึงเป็นการเปิดโอกาสให้คนที่เรียนจบสายอาชีพสามารถหางานได้ง่ายขึ้น สามารถเปลี่ยนสายงานไปทำงานที่สนใจจริง ๆ ได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องข้อจำกัดของวุฒิการศึกษามาร่วมมองหางานที่ใช่ ได้ที่ ไทยจ๊อบ เว็บหางานของคนไทย

บทความอื่นๆ

เรียนสายอาชีพจบมาจะทำงานอะไรดี วันนี้เราจะมาแนะนำกับ 8 อาชีพที่สายอาชีพไม่ควรพลาด

  • 04/09/2567
  • 66

5 วิธีปฏิเสธการไป Outing บริษัทแบบไม่เสียเพื่อนร่วมงาน

  • 23/08/2567
  • 108

วันนี้เราจะมาแนะนำสำหรับคนที่กำลังหางาน แล้ว สมัครงานได้หลายที่ว่าคุณควรเลือกเข้าทำงานที่ไหนด้วย 5 ข้อนี้ - ThaiJob

  • 21/08/2567
  • 91

บอกเล่าถึงความสำคัญของการระบุเงินเดือนในพื้นที่ลงประกาศงานเพื่อให้มีผู้สมัครงานเข้ามา

  • 07/08/2567
  • 124

อายุเป็นเพียงแค่ตัวเลขคำนี้ไม่เกินจริง เพราะเราสามารถเปิดรับหาโอกาสใหม่ ๆ ได้เสมอ

  • 17/07/2567
  • 130

เด็กจบใหม่ ที่ยังไม่ค่อยมีประสบการณ์การทำงานก็สามารถ หางาน จากบริษัทชั้นนำได้ด้วยการเขียน เรซูเม่ เป็นเหมือนประวัติแนะนำตัวยื่น สมัครงาน...

  • 02/07/2567
  • 153

ค้นพบ 5 เหตุผลหลักที่ทำให้คนยุคใหม่เลือกทำงานจากระยะไกล พร้อมข้อดีและประโยชน์มากมายที่คุณต้องรู้

  • 01/07/2567
  • 171
Top