5 Do 5 Don't สิ่งที่ควรและไม่ควรทำ เมื่อไปสัมภาษณ์งาน

26/03/2561 | 8,780


      ไม่ว่าคุณจะเป็นนักศึกษาไฟแรงที่เพิ่งจบใหม่ หรือกำลังมองหาตำแหน่งงานในบริษัทใหม่เพื่อเปลี่ยนงาน ไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม ก่อนที่คุณจะเข้าไปทำงานในตำแหน่งที่ต้องการได้ ย่อมต้องผ่านด่านของการสมัครงานและสัมภาษณ์งานไปเสียก่อน เพราะฉะนั้นวันนี้ เราจึงได้นำ 5 สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำเมื่อคุณต้องไปสัมภาษณ์งานมาฝากกัน

      การไปสัมภาษณ์งานส่วนใหญ่จะมี 2 รูปแบบ คือ กรณีที่ผู้สมัครส่งใบสมัครพร้อมประวัติส่วนตัวไปสมัครงานในตำแหน่งที่หน่วยงานนั้น ๆ รับสมัคร และในกรณีที่มีการเปิดรับสมัครงานแบบ Walk in interview ที่หน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ เปิดรับสมัครงานพร้อมกับการสัมภาษณ์งานในวันนั้น ๆ เลย ไม่ว่าจะเป็นการจัดหางาน ในงาน Job Fair ต่าง ๆ หรือการจัด Open House เปิดบ้านรับสมัครงานเองของหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการสัมภาษณ์งานแบบไหนคุณก็จะต้องมีการเตรียมตัวและเตรียมความพร้อมไปเป็นอย่างดี เพื่อให้การสัมภาษณ์งานสำเร็จลุล่วง ได้งานในตำแหน่งที่ต้องการ โปรดระลึกไว้เสมอว่า “ไม่ได้มีเราคนเดียวที่ยื่นใบสมัคร” การเตรียมตัวที่ดี ย่อมได้เปรียบเสมอ


5 สิ่งที่ต้องทำเมื่อไปสัมภาษณ์งาน

5 สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นเพียงสิ่งที่ควรทำ แต่เรียกว่าเป็นสิ่งที่ต้องทำเมื่อต้องไปสัมภาษณ์งานเลยก็ได้ ซึ่งได้แก่


  1. ศึกษาเส้นทางการเดินทาง ยิ่งหากสมัครงานในกรุงเทพด้วยแล้ว ควรจะศึกษาเส้นทางและทำการบ้านเรื่องการเดินทางให้แม่นยำ เพื่อให้สามารถเดินทางไปสัมภาษณ์งานได้ตามเวลา ซึ่งสิ่งที่ควรทำก็คือ ควรเดินทางไปถึงสถานที่สัมภาษณ์งานก่อนล่วงหน้าประมาณ 15-30 นาที เพื่อจะได้มีเวลาเตรียมตัว มีเวลากรอกใบสมัครอีกรอบ และไม่ลนลานจนตื่นเต้น

  2. แต่งกายให้สุภาพเหมาะกับกาลเทศะ บุคลิกและการแต่งกายเป็นสิ่งแรกที่ผู้สัมภาษณ์คุณ จะเห็นและพิจารณาถึงความเหมาะสมกับตำแหน่งที่คุณสมัครงาน เพราะฉะนั้นในการไปสัมภาษณ์งาน คุณจะต้องเตรียมตัวให้ดี ทั้งในเรื่องของเสื้อผ้า หน้า ผม ต้องดูสะอาดสะอ้าน สำหรับสุภาพสตรีไม่ควรใส่กระโปรงสั้น หรือแต่งตัวโชว์สัดส่วนและรูปร่างมากจนเกินไป

  3. เตรียมเอกสารให้ครบ ควรจัดเตรียมเอกสารที่หน่วยงานหรือองค์กรนั้น ๆ ต้องการในวันสัมภาษณ์งานไปให้ครบถ้วน

  4. ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรหรือหน่วยงาน การทำการบ้านโดยการศึกษาข้อมูล รายละเอียด เกี่ยวกับธุรกิจ ทิศทางการทำงาน ไปจนถึงรายชื่อผู้บริหารระดับสูงขององค์กรหรือหน่วยงาน จะช่วยให้คุณสามารถตอบคำถามของผู้สัมภาษณ์ได้อย่างตรงจุดมากขึ้น และหากคุณทราบข้อมูลเบื้องต้นขององค์กรอยู่บ้าง จะแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและความต้องการ ในการเข้ามาทำงานในหน่วยงานหรือองค์กรนั้น ๆ ได้อย่างแท้จริง

  5. นำเสนอความสามารถและความเป็นตัวของตัวเอง ในการแนะนำตัวและการตอบคำถามของผู้สัมภาษณ์ ผู้สมัครงานต้องนำเสนอความสามารถ และความเป็นตัวของตัวเองออกไปให้ผู้สัมภาษณ์ได้รู้จักคุณมากที่สุดด้วยคำพูดที่สุภาพ

เมื่อทราบสิ่งที่ควรทำเมื่อไปสัมภาษณ์งานกันแล้ว ทีนี้เรามาดู 5 สิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อไปสัมภาษณ์งานกันบ้าง


  1. ถามคำตอบคำ ตามที่บอกไปว่าเมื่อผู้สัมภาษณ์ถามคำถามใด ๆ คุณควรจะใช้โอกาสในการตอบคำถามให้เป็นประโยชน์ เพื่ออธิบาย นำเสนอความคิดและความรู้ความสามารถของตัวเอง ไม่ใช่ถามคำตอบคำ หรือตอบแค่ว่า “ครับ” “ค่ะ” “ใช่” “ไม่ใช่” เพราะนั่นแสดงให้เห็นถึงการไม่มีปฏิสัมพันธ์ และความไม่เอาใจใส่ในการมาสัมภาษณ์งานในครั้งนี้

  2. อย่าโกหก ในการสัมภาษณ์งานควรตอบทุกคำถามด้วยความจริงใจและตรงไปตรงมา อย่าโกหกผู้สัมภาษณ์เป็นอันขาด ให้จำไว้ว่าฝ่ายบุคคลที่ผ่านการสัมภาษณ์ผู้สมัครงาน มาเป็นร้อยเป็นพันคน ย่อมมีประสบการณ์และสามารถจับโกหกคุณได้เสมอ

  3. พูดถึงที่ทำงานเก่าในแง่ร้าย จริงอยู่ว่าการที่คุณมาสมัครงานในที่ทำงานใหม่ ก็เป็นเพราะคุณไม่พอใจอะไรบางอย่างในที่ทำงานเก่า ไม่ว่าจะเป็นระบบงานหรือเพื่อนร่วมงาน ซึ่งสิ่งเหล่านั้นคุณก็ไม่จำเป็นที่จะต้องนำมาพูดถึงในการสัมภาษณ์งานครั้งนี้ทั้งหมด

  4. พูดจาไม่สุภาพ การพูดจาตรงไปตรงมา และเปิดเผยตัวตนให้ผู้สัมภาษณ์รู้จักคุณมากยิ่งขึ้น เป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องเป็นการใช้คำพูดที่มีความสุภาพและรู้จักกาลเทศะ ไม่ใช้คำพูดที่ดูเป็นกันเองจนเกินไป จนฟังดูไม่สุภาพ โดยเฉพาะการใช้คำพูดที่หยาบคาย ตอบคำถามในการสัมภาษณ์งาน เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง

  5. แสดงทัศนคติเชิงลบ องค์กรหรือหน่วยงานย่อมต้องการผู้สมัครงาน เข้ามาทำงานในตำแหน่งที่ต้องการด้วยทัศนคติที่ดี เพื่อประโยชน์สูงสุดขององค์กร เพราะฉะนั้นในการเข้าสัมภาษณ์งาน คุณควรจะหลีกเลี่ยงการนำเสนอหรือแสดงทัศนคติเชิงลบในเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเมือง เศรษฐกิจ ไปจนถึงข่าวคราวที่กำลังเป็นดรามา หรือเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆ เพราะปัญหาทุกอย่างเมื่อมองในเชิงบวกแล้ว ย่อมมีทางออกหรือหนทางแก้ไขอยู่เสมอ

      จากผลสำรวจอัตราการว่างงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เดือนกรกฎาคม 2560 (ข้อมูลอ้างอิง : https://goo.gl/D5xHAu ) พบว่า คนไทยว่างงานเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 4.76 แสนคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงานอยู่ที่ 1.2% โดยจำนวนคนที่ว่างงานส่วนใหญ่ก็คือกลุ่มระดับอุดมศึกษา ซึ่งมีจำนวนคนว่างงานมากถึง 253,000 คน ดังนั้นเมื่อคุณสมัครงานและได้รับการคัดเลือก ถูกเรียกเข้าไปสัมภาษณ์ นั่นหมายความว่าโอกาสที่คุณจะได้เข้าไปทำงานในตำแหน่งและองค์กรที่ต้องการ มีความเป็นไปได้เกินครึ่งแล้ว เพราะฉะนั้นการเตรียมตัวก่อนเข้าไปสัมภาษณ์งานตามที่เราแนะนำ จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ รวมถึงซักซ้อมการแนะนำตัว และนำเสนอความสามารถของตัวเอง ก็จะเป็นองค์ประกอบที่ช่วยให้คุณได้รับการคัดเลือกเข้าไปทำงานในตำแหน่งของหน่วยงานที่ตัวเองต้องการได้ตามมุ่งหวังและตั้งใจ

บทความอื่นๆ

แนะนำ 5 อาชีพสำหรับ MBTI - INFJ บุคลิกของผู้แนะนำ จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย

  • 06/11/2567
  • 86

แนะนำ 5 อาชีพสำหรับ MBTI - ISFJ ผู้ให้ จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย

  • 28/10/2567
  • 101

แนะนำ 5 อาชีพสำหรับ MBTI - INTP นักวิเคราะห์ จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย

  • 24/10/2567
  • 115

แนะนำ 5 อาชีพสำหรับ MBTI - ISTJ ผู้ตรวจสอบ จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย

  • 11/10/2567
  • 197

แนะนำ 5 อาชีพ สำหรับชาว Introvert ที่เตรียมตัว หางาน สมัครงาน จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย

  • 09/10/2567
  • 164

แนะนำสาขาสายอาชีพ เรียนจบ ไม่ตกงาน

  • 04/10/2567
  • 210

สอนทำเรซูเม่กับ 4 ไอเดียสำหรับสายอาชีพ - อาชีวศึกษา

  • 02/10/2567
  • 153

วิศวกรระดับ 4 คือตำแหน่งที่หลายคนในวงการวิศวกรรมใฝ่ฝันจะก้าวไปให้ถึง

  • 17/09/2567
  • 200
Top