เรียนเศรษฐศาสตร์ จบมาทํางานอะไร
06/01/2559 | 23,522
เศรษฐศาสตร์ คือวิชาที่ว่าด้วยการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เพียงพอกับมนุษย์ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับหลาย ๆ สภาวะ ทั้งสภาวะเศรษฐกิจ หรือสภาวะของสังคมในปัจจุบัน ที่ว่าด้วยการผลิตเครื่องอุปโภค บริโภค การจำหน่าย การจ่ายแจกนำมาศึกษาปัญหาทางเศรษฐกิจโดยรวมทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมไปถึงการออมทรัพย์ของคนในประเทศ ปัญหาการลงทุนต่าง ๆ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 สาขา คือเศรษฐศาสตร์จุลภาค ที่ว่าด้วยปัญหาเศรษฐกิจของภาคเอกชน ปัญหาการตลาดต่าง ๆ และเศรษฐศาสตร์มหภาค ที่ว่าด้วยเรื่องของเศรษฐกิจโดยรวมของทั้งประเทศ
ว่ากันง่าย ๆ ก็คือ ผู้ที่เรียนสายเศรษฐศาสตร์นั้น มักจะเป็นผู้ที่สามารถคิดวิเคราะห์ และรู้ซึ้งในเรื่องของเศรษฐกิจ การเงิน การธนาคาร ทั้งยังสามารถคาดคะเนเหตุการณ์พร้อมทั้งวิธีแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคตอันใกล้อีกด้วย
ในปีนี้หลาย ๆ คน ที่กำลังจะเลือกเรียนด้านนี้ ก็คงเริ่มคิดกันแล้วว่าเมื่อเรียนจบ เศรษฐศาสตร์มาแล้วจะต้องทำงานในด้านไหน ถึงจะตรงกับสายงานที่ตัวเองได้เล่าเรียนมา ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เศรษฐศาสตร์นั้นสามารถเข้าทำงานได้หลากหลายแขนง ไม่ว่าจะเป็นนักวิเคราะห์การลงทุน นักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ที่สามารถให้คำแนะนำการลงทุนแก่ผู้ที่สนใจ ให้ข้อมูลที่ชัดเจน และสามารถคาดการณ์ได้ถึงแนวโน้มของสภาวะการลงทุนนั้น ๆ ได้อย่างแม่นยำ พร้อมทั้งบอกถึงเทคนิคการลงทุนที่ดีและแนะนำให้ผู้ที่ซื้อหรือผู้ที่มาลงทุนด้วย ทั้งยังสามารถจัดการกับปัญหาทางการลงทุนของตัวเองได้อย่างลงตัว หรือจะเป็นอาจารย์สอนการตลาด สอนเศรษฐศาสตร์ให้แก่นักศึกษาตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ หรือไม่ก็เป็นฝ่ายวิชาการตามกระทรวงต่าง ๆ
ทั้งนี้ผู้ที่จบเศรษฐศาสตร์ยังสามารถทำได้อีกหลากหลายอาชีพตามความชอบส่วนตัว ตั้งแต่เปิดธุรกิจเป็นของตัวเอง เป็นเจ้าหน้าที่ของธนาคาร ทำงานในหน่วยงานรัฐ หรือแม้แต่เป็นพนักงานขาย ก็สามารถทำได้ทั้งสิ้น เพราะหลักเศรษฐศาสตร์นั้นแทรกซึมอยู่ในทุกอาชีพ ทุกระบบ อยู่ที่ว่าผู้ที่เรียนมาจะเลือกเป็นในด้านไหน แล้วก็นำวิชาที่เรียนมาเข้าปรับประยุกต์ใช้กับอาชีพของตัวเองได้อย่างกลมกลืน ดังนั้นคนที่จบด้านเศรษฐศาสตร์มานั้นสามารถเข้าทำงานในแต่ละสาขาได้กว้างมาก
แต่อาชีพที่น่าสนใจของผู้ที่เรียนในสาขานี้ก็จะมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเคราะห์การลงทุน หรือนักวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินของลูกค้า ที่ปรึกษาทางการเงิน นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ นักวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจ และการแนะนำทางการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งอาชีพเหล่านี้จะค่อนข้างเป็นอาชีพที่ตรงจุดของการเรียนเศรษฐศาสตร์ นอกจากนี้ก็ยังสามารถทำโบรกเกอร์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายสินเชื่อ ไฟแนนซ์ ที่ก็เป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับด้านเศรษฐศาสตร์เหมือนกัน ทั้งนี้ก็อยู่ที่ว่าผู้ที่เรียนมาจะเลือกเข้าทำงานในตำแหน่งใด
นอกจากนี้ในผู้ที่ทำงานตรงสายก็อาจจะเลือกเรียนเพิ่มเติมในรูปแบบวิชาอื่น ๆ เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสของตำแหน่งงานใหม่ ๆ ในอนาคต เช่นการเรียนในสาขาวิทยาศาสตร์ ศิลปะศาสตร์ หรือจิตวิทยาเพิ่ม ไม่ก็อาจจะเลือกศึกษาเพิ่มเติมในสิ่งที่เรายังไม่รู้ เช่น เรื่องของพฤติกรรมในการออม พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อตลาด และแม้แต่การรู้หลักจิตวิทยาของผู้บริโภค ก็ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องสำคัญที่เราอาจจะหาข้อมูลเพิ่มเติมมาเพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเอง และสาขาอาชีพในอนาคตของเราได้อีกด้วย
บัณฑิตที่จบจากคณะเศรษฐศาสตร์ จึงสามารถเข้าทำงานได้ในหลาย ๆ สาขาอาชีพ ทั้งในหน่วยงานภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน โดยเน้นที่ตำแหน่งด้านการวิเคราะห์เรื่องราวทางเศรษฐกิจทั้งในแบบชุมชนและเศรษฐกิจภาครวมในมุมกว้าง หรือจะเข้าทำงานกับธนาคารแห่งประเทศไทยก็ยิ่งดี เพราะเศรษฐศาสตร์นั้นมีส่วนช่วยในเรื่องของการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการเงิน การคลังของประเทศ หรือการเพิ่ม การลดดอกเบี้ยในระบบเศรษฐกิจต่าง ๆ ซึ่งคนที่เรียนด้านเศรษฐศาสตร์มาจะสามารถอธิบายเรื่องเหล่านี้ได้ดีมากกว่าอาชีพอื่น ๆ
ทั้งนี้ผู้ที่จบด้านนี้ก็ควรฝึกเป็นผู้ที่สื่อสารที่ดีด้วย เพราะสิ่งเหล่านี้เราจะต้องสามารถอธิบายให้แก่ลูกค้า หรือผู้ที่สนใจจะลงทุนกับเราให้เข้าใจหลักการเหล่านี้ให้ได้มากที่สุด เพราะเราจะต้องช่วงชิงความเป็นต่อจากการได้ลูกค้าที่เพิ่มขึ้น ซึ่งนั่นก็เป็นอีกหนึ่งความท้าทายของอาชีพทางด้านเศรษฐศาสตร์ที่ผู้เรียนจบมาจะรู้กันดี เรียกได้ว่าผู้ที่ทำงานด้านนี้จะต้องเป็นผู้ที่ตื่นตัว รู้ทันเศรษฐกิจโลก และอัพเดทข่าวสาร ข้อมูลที่สำคัญต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลาเลยทีเดียว
โดดเด่น
เครือข่ายมหาวิทยาลัย
บทความอื่นๆ
แชร์เทคนิคเพิ่มเงินเดือนเมื่อย้ายงานใหม่ ให้คุ้มค่าและไม่ขาดทุน พร้อมเคล็ดลับการเตรียมตัวต่อรองเงินเดือน และวางแผนอนาคต เพิ่มโอกาสเติบโตในสายงานได้ง่ายขึ้น
- 23/01/2568
- 31
สมัครงานให้ได้งานไม่ใช่เรื่องโชคช่วย แต่ต้องเตรียมตัวให้พร้อม!
- 10/01/2568
- 88
แนะนำ 5 อาชีพสำหรับ MBTI - INFJ บุคลิกของผู้แนะนำ จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย
- 06/11/2567
- 324
แนะนำ 5 อาชีพสำหรับ MBTI - ISFJ ผู้ให้ จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย
- 28/10/2567
- 269
แนะนำ 5 อาชีพสำหรับ MBTI - INTP นักวิเคราะห์ จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย
- 24/10/2567
- 275
แนะนำ 5 อาชีพสำหรับ MBTI - ISTJ ผู้ตรวจสอบ จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย
- 11/10/2567
- 275
แนะนำ 5 อาชีพ สำหรับชาว Introvert ที่เตรียมตัว หางาน สมัครงาน จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย
- 09/10/2567
- 229