เงินเดือนไม่ได้สูงขึ้นเพราะทำงานมานาน
28/11/2558 | 2,838
มนุษย์เงินเดือนอย่างเรา ๆ ทำงานแลกเงินมาประทังชีวิตในแต่ละวัน ย่อมมีความหวังว่าสิ้นปีจะได้โบนัสก้อนโตพร้อมกับเงินเดือนที่เพิ่มขึ้น แต่คุณได้ทุ่มเทกับหน้าที่การงานมากพอกับสิ่งที่คาดหวังไว้หรือเปล่า นอกจากความชอบในงานที่ทำแล้ว เงินเดือนก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เราเลือกทำงานนั้น คนส่วนใหญ่มักจะเลือกงานโดยการพิจารณาที่เงินเดือนก่อนเป็นอันดับแรก ทำให้ไม่ได้ทำงานที่ตัวเองถนัดหรืองานที่ตนเองรัก บางคนอดทนทำงานที่ตัวเองไม่ได้รักเพียงเพราะได้ค่าตอบแทนที่มากพอกับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และทำงานนั้นไปด้วยความหวังลม ๆ แล้ง ๆ ว่าเงินเดือนจะขึ้นในปีต่อไป
ทำอย่างไรจะได้เงินเดือนเพิ่ม? อัตราการขึ้นเงินเดือนขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่ กำไร-ขาดทุนของบริษัท ความสามารถและผลงานของพนักงาน รวมไปถึงการลงทุนของบริษัทในอนาคตด้วย ตราบใดที่เงินเดือนของคุณยังไม่ชนเพดาน โอกาสจะได้ขึ้นเงินเดือนอยู่ที่ 5%-10% ต่อปี บนพื้นฐานของโครงสร้างเงินเดือนและผลกำไรของบริษัท อีกหนึ่งวิธีได้ขึ้นเงินเดือนคือการบอกว่าจะลาออก หากคุณมีความสามารถและยังเป็นบุคลากรที่บริษัทต้องการอย่างมาก คุณอาจได้ขึ้นเงินเดือนหรือเลื่อนตำแหน่งในทันที แต่ต้องมั่นใจว่าตัวคุณมีดีมากพอที่บริษัทจะดึงตัวไว้ ดังนั้นถ้าไม่จำเป็นก็อย่าเสี่ยงดีกว่า
ในทุกปีองค์กรแต่ละแห่งมีการขึ้นเงินเดือนให้อยู่แล้วเรียกว่า “การขึ้นเงินเดือนประจำปีตามผลงาน” เพื่อเป็นตัวกระตุ้นและจูงใจให้พนักงานขยันทำงาน พนักงานคนไหนทำผลงานดีจะได้รับการขึ้นเงินเดือนที่สูงกว่าพนักงานที่ขยันน้อยกว่า หรือคำตอบที่เห็นภาพชัดเจนในเรื่องเงินของการได้เดือนมากขึ้น คือการหางานใหม่ คุณอาจได้เงินเดือนที่มากขึ้น แต่อาจต้องเรียนรู้งานใหม่ เปลี่ยนสังคมใหม่ เปลี่ยนสภาพแวดล้อม สุดท้ายไม่มีอะไรบอกได้ว่าเงินเดือนที่มากขึ้นทำให้ภาพรวมของชีวิตดีขึ้นจริงหรือไม่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพอใจส่วนบุคคล
ประสบการณ์คืออายุงานที่แท้จริง ในการจ้างงานมีค่าตอบแทนที่คุณต้องได้เพิ่มทุกเดือน ในฐานะที่ทำงานมานานหรือทำงานมาหลากหลายตำแหน่งเรียกว่ามี “ค่าประสบการณ์” ซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการทำงาน รวมไปถึงประสบการณ์ที่คุณมีนั้นตรงกับสายงานที่ทำอยู่หรือไม่ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่องานได้หรือไม่ เมื่อย้อนกลับไปอ่านหัวข้อบทความอีกครั้ง คุณอาจเถียงในใจว่า “ถ้าทำงานมานาน เงินเดือนก็เพิ่มขึ้นด้วยเสมือนกับค่าประสบการณ์มิใช่หรือ” คำตอบคือใช่ เงินเดือนเพิ่มขึ้นแน่นอน แต่ไม่ใช่จำนวนเงินที่มากพอกับเวลาที่คุณเสียไป ฉะนั้น คุณควรพัฒนาตนเองด้วยการสร้างผลงานให้เป็นไปตามเป้าหมาย สั่งสมประสบการณ์ด้วยความอดทนจนกลายเป็นที่ยอมรับขององค์กรและเป็นบุคลากรที่บริษัทจำเป็นต้องพึ่งพาคุณในการทำงาน เมื่อนั้น การต่อรองเรื่องเงินเดือนคงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป จงให้คุณค่ากับประสบการณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน มิใช่ทำงานไปวัน ๆ และนั่งนับเวลารอวันเกษียณอายุของตัวเองโดยไร้ประสบการณ์ที่แท้จริง
โดดเด่น
เครือข่ายมหาวิทยาลัย
บทความอื่นๆ
แนะนำ 5 อาชีพสำหรับ MBTI - INFJ บุคลิกของผู้แนะนำ จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย
- 06/11/2567
- 187
แนะนำ 5 อาชีพสำหรับ MBTI - ISFJ ผู้ให้ จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย
- 28/10/2567
- 175
แนะนำ 5 อาชีพสำหรับ MBTI - INTP นักวิเคราะห์ จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย
- 24/10/2567
- 182
แนะนำ 5 อาชีพสำหรับ MBTI - ISTJ ผู้ตรวจสอบ จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย
- 11/10/2567
- 228
แนะนำ 5 อาชีพ สำหรับชาว Introvert ที่เตรียมตัว หางาน สมัครงาน จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย
- 09/10/2567
- 193
สอนทำเรซูเม่กับ 4 ไอเดียสำหรับสายอาชีพ - อาชีวศึกษา
- 02/10/2567
- 179
วิศวกรระดับ 4 คือตำแหน่งที่หลายคนในวงการวิศวกรรมใฝ่ฝันจะก้าวไปให้ถึง
- 17/09/2567
- 229