เพื่อนร่วมงานที่ดีกับเพื่อนร่วมงานที่แย่

22/11/2558 | 3,983



วิถีชีวิตคนทำงาน วันทั้งวันเจอแต่กับหัวหน้ากับเพื่อนร่วมงาน นับชั่วโมงกันจริง ๆ แล้วคนทำงานต้องพบเจอกับเพื่อนร่วมงานและหัวหน้างานบ่อยกว่าคนในครอบครัวเสียอีก ใครที่ว่าโชคดีได้หัวหน้าที่ดีก็นับว่ามีบุญ แต่จะนับว่าเป็นโชคชั้นที่สองเลยถ้าเพื่อนร่วมงานที่ดีด้วย เพราะจะหยิบจะจับจะทำโปรเจคอะไร ๆ ก็มีคนคอยช่วยเหลือและให้คำปรึกษา แต่ในทางกลับกัน ถ้าได้เพื่อนร่วมงานที่แย่ ชีวิตการทำงานอาจไม่ราบรื่นนัก บางครั้งอาจถึงขั้นขอย้ายทีม ย้ายฝ่ายหรือลาออกจากงานไปเลยก็เป็นไปได้


การจะตัดสินว่าเพื่อนร่วมงานแบบไหนที่เรียกว่าดี หรือแย่นั้น ไม่อาจตัดสินจากคน ๆ เดียวได้ เพราะแต่ละคนย่อมมีความเป็นปัจเจกที่แตกต่างกันเป็นเฉพาะบุคคล ย่อมมีอคติต่อบางสิ่งบางอย่างหรือคนใดคนหนึ่งไม่เหมือนกัน หลาย ๆ ครั้งที่เราอาจจะรู้สึกว่าไม่ชอบที่เพื่อนร่วมงานบางคนทำพฤติกรรมบางอย่าง ซึ่งพฤติกรรมนั้นอาจไม่ได้ทำให้เพื่อนร่วมงานคนอื่นรู้สึกไม่ชอบเหมือนที่เรารู้สึก และไม่ได้เป็นพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดปัญหากับการทำงานแต่อย่างใด ถ้ากระนั้นแล้วเราอาจต้องพิจารณาตัวเราเองและควรพึงระลึกไว้เสมอว่าสิ่งที่ควรปรับคือทัศนคติของเราเอง ถึงอย่างไรก็ตาม เราสามารถแบ่งให้เห็นพอสังเขปได้ว่า เพื่อนร่วมงานที่ดีกับเพื่อนร่วมงานที่แย่นั้นเป็นอย่างไร โดยจะยกเฉพาะพฤติกรรมเด่น ๆ ของเพื่อนร่วมงานที่แย่ ดังเช่น


ปัดรับผิด รับแต่ชอบ เป็นประเภทโยนเก่ง อะไรทำไม่ดีไม่สำเร็จหรือทำพลาด สามารถพูดเลี่ยงเอาตัวรอดได้เสมอ ในทำนองเดียวกัน งานที่ประสบความสำเร็จ เป็นความดีความชอบ ก็สามารถแทรกตัวเข้ามาเพื่อรับชอบได้อย่างกลมกลืน แสดงอาการเอาหน้าอย่างชัดเจน


แทงข้างหลัง เพื่อนร่วมงานประเภทนี้ อาจมีความมุ่งหมายเพื่อปัดแข้งปัดขาไม่ให้คนอื่นก้าวหน้า เพื่อที่ตัวเองจะได้โดดเด่นขึ้นในสายตาเจ้านาย หรืออาจจงใจแทงข้างหลังเพื่อผลักดันคนที่ตนไม่ชอบออกไปให้พ้นทาง


ไม่มีความเป็นมืออาชีพ เพื่อนร่วมงานประเภทนี้ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมมองตัวเองเป็นศูนย์กลาง หากผู้อื่นไม่เห็นด้วยหรือกระทำใด ๆ ไม่ตรงตามแบบของตนก็จะเกิดอคติต่อผู้ร่วมงานคนอื่น ไม่สามารถร่วมงานกับคนอื่นได้ง่ายนัก


ชอบนินทา บางคนชอบนินทาซุบซิบ เห็นเป็นของสนุก ไม่ควรคบหาให้เสียเวลา


ไม่มีความเกรงใจ ไม่เคารพให้เกียรติผู้อื่น ทั้งในแง่การกระทำหรือคำพูด เพื่อนร่วมงานที่ดีควรสำรวมในการพูดและการแสดงกิริยา ไม่ควรพูดบั่นทอนกำลังใจคนอื่น หรือแม้กระทั่งเข้าไปยุ่งวุ่นวายกับคนอื่นมากเกินพอดี


ใครโชคดีคงไม่ต้องพบเจอกับเพื่อนร่วมงานที่มีพฤติกรรมแย่ ๆ ตามข้างต้น แถมซ้ำอาจมีเพื่อนร่วมงานที่ดีที่เอาใจใส่ให้เกียรติผู้อื่น ช่วยเหลือทั้งในแง่การทำงานและให้กำลังใจเมื่อผู้อื่นล้ม หากงานประสบความสำเร็จก็ให้เครดิตกับคนที่ทำ ไม่เอาหน้าคนเดียว อีกทั้งยังไม่นินทาลับหลังให้เสียความรู้สึก ใครก็ตามที่กำลังพิจารณาเพื่อนร่วมงานของเราอยู่ขณะนี้ เมื่อพิจารณาครบทุกคนแล้ว ก็อย่าลืมพิจารณาตัวเราเองด้วย เพราะเพื่อนร่วมงานของเราก็คงจะคิดเหมือนกันว่าเราเป็นเพื่อนร่วมงานประเภทไหน

บทความอื่นๆ

แชร์เทคนิคเพิ่มเงินเดือนเมื่อย้ายงานใหม่ ให้คุ้มค่าและไม่ขาดทุน พร้อมเคล็ดลับการเตรียมตัวต่อรองเงินเดือน และวางแผนอนาคต เพิ่มโอกาสเติบโตในสายงานได้ง่ายขึ้น

  • 23/01/2568
  • 31

สมัครงานให้ได้งานไม่ใช่เรื่องโชคช่วย แต่ต้องเตรียมตัวให้พร้อม!

  • 10/01/2568
  • 88

แนะนำ 5 อาชีพสำหรับ MBTI - INFJ บุคลิกของผู้แนะนำ จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย

  • 06/11/2567
  • 324

แนะนำ 5 อาชีพสำหรับ MBTI - ISFJ ผู้ให้ จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย

  • 28/10/2567
  • 269

แนะนำ 5 อาชีพสำหรับ MBTI - INTP นักวิเคราะห์ จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย

  • 24/10/2567
  • 275

แนะนำ 5 อาชีพสำหรับ MBTI - ISTJ ผู้ตรวจสอบ จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย

  • 11/10/2567
  • 275

แนะนำ 5 อาชีพ สำหรับชาว Introvert ที่เตรียมตัว หางาน สมัครงาน จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย

  • 09/10/2567
  • 229

แนะนำสาขาสายอาชีพ เรียนจบ ไม่ตกงาน

  • 04/10/2567
  • 624
Top